รายละเอียดวิชาพระอภิธรรมปิฎก
(Abhidhamma Pitaka)
๑.
ชื่อรายวิชา พระอภิธรรมปิฎก ชื่อภาษาอังกฤษ Abhidhamma
Pitaka
๒.
รหัสวิชา ๐๐๐ ๒๕๐ จำนวนหน่วยกิต ๒ (๒-๐-๔)
หมวดวิชา วิชาแกนพระพุทธศาสนา
ระดับการศึกษา อุดมศึกษา
๓.
อาจารย์ประจำวิชา/ผู้บรรยาย พระมหาธานินทร์ อาทิตวโร,ดร.
๔.
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาประวัติ ความเป็นมา
ความหมาย โครงสร้างของพระอภิธรรมปิฎก
เนื้อหาสาระ
ประเด็นที่น่าสนใจในพระอภิธรรมปิฏกทั้ง
๗ คัมภีร์ โดยเน้นให้เข้าใจหลักปรมัตถธรรม คือ
จิต เจตสิก รูป
และนิพพาน
โดยอาศัยอรรถกถาและฏีกาประกอบ
๕.
จุดประสงค์การเรียน
๕.๑ เพื่อศึกษาความหมายและการทำงานของจิต
๕.๒ เพื่อศึกษาคุณสมบัติของจิต
๕.๓
เพื่อศึกษาความหมายหน้าที่การทำงานของรูป (ร่างกาย)
๕.๔
เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจิตและร่างกายตามหลักการทางพุทธศาสนาได้
๕.๕
เพื่อศึกษาสภาวะจิตที่มีความเป็นอิสระจากสิ่งเศร้าหมองได้ (นิพพาน)
๕.๖ เพื่อให้นักศึกษาสามารถปรับปรุงพฤติกรรมของตนเองให้ดีขึ้นให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
๖.
จุดประสงค์เชิงคุณธรรม
๖.๑ ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ
และซื่อสัตย์สุจริต
๖.๒ มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
๖.๓
มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
๖.๔ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
๖.๕
เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม สามารถวิเคราะห์ผลดีของการศึกษาอภิธรรมต่อสังคม
๗.
รายละเอียดของวิชา
๗.๑ แนะนำการเรียนการสอน (สัปดาห์ที่ ๑) ๒๔ พ.ย. ๕๗ (อบรมธรรมศึกษา) ชดเชย ๘ ธ.ค. ๕๘
๗.๒ บทที่ ๑
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระอภิธรรมปิฎก (สัปดาห์ที่ ๒) ๑ ธ.ค. ๕๘ (สอบธรรมศึกษา) ชดเชย ๑๕ ธ.ค. ๕๘
๗.๓ บทที่ ๒ สาระสำคัญในคัมภีร์ธัมมสังคณี (สัปดาห์ที่
๓,๔) ๘, ๑๕ ธ.ค. ๕๘ ชดเชย ๕ ม.ค. ๕๙
๗.๓ บทที่ ๓
สาระสำคัญในคัมภีร์วิภังค์ (สัปดาห์ที่ ๕) ๒๒ ธ.ค. ๕๘ (ปฏิบัติธรรมประจำปี) ชดเชย ๑๒ ม.ค. ๕๙
๗.๔ บทที่ ๔ สาระสำคัญในคัมภีร์ธาตุกถา (สัปดาห์ที่ ๖) ๒๙ ธ.ค. ๕๗ (ปฏิบัติธรรมประจำปี) ชดเชย ๑๙ ม.ค. ๕๙
๗.๕ บทที่ ๕ สารสำคัญในคัมภีร์ปุคคลบัญญัติ (สัปดาห์ที่ ๗) ๕
ม.ค. ๕๙ ชดเชย ๒๖ ม.ค. ๕๙
(สัปดาห์ที่ ๘) ๑๒ ม.ค. ๕๙ สอบกลางภาค ชดเชย ๒ ก.พ. ๕๙
๗.๖ บทที่ ๖ สาระสำคัญในคัมภีร์กถาวัตถุ (สัปดาห์ที่ ๙,๑๐) ๑๙,๒๖ ม.ค. ๕๙ ชดเชย ๙, ๑๖
ก.พ. ๕๙
๗.๗ บทที่ ๗
สาระสำคัญในคัมภีร์ยมก (สัปดาห์ที่ ๑๑) ๒ ก.พ. ๕๙ ชดเชย
๒๓ ก.พ. ๕๙
๗.๘ บทที่ ๘
สาระสำคัญในคัมภีร์ปัฏฐาน (สัปดาห์ที่ ๑๒,๑๓) ๙, ๑๖ ก.พ. ๕๙ ชดเชย ๑, ๘
มี.ค. ๕๙
๗.๙ นำเสนองาน
สรุปเนื้อหารายวิชา (สัปดาห์ที่ ๑๔) ๒๓ ก.พ. ๕๙ ชดเชย ๑๕
มี.ค. ๕๙
๘.
กิจกรรมการเรียนการสอน
๘.๑ แนะนำเค้าโครงการบรรยายและขอบข่ายเนื้อหารายวิชา
๘.๒ บรรยายเนื้อหาตามเค้าโครงการบรรยายและขอบข่ายเนื้อหารายวิชา
๘.๓ อภิปราย-ซักถาม และเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน ทำแบบฝึกหัด
ฝึกหัดออกข้อสอบ
๘.๔ แนะนำและมอบหมายการศึกษาค้นคว้ารายงานเฉพาะบุคคลและกลุ่ม
๘.๕ นำเสนอรายงานและการประเมินผลการเรียนรู้
๙.
การวัดและประเมินผล
๙.๑ จิตพิสัย (ความตั้งใจ ความร่วมมือ มารยาท มนุษยสัมพันธ์
ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ) ๑๐ คะแนน
๙.๒ ทักษะพิสัย (ความพร้อม ความเชี่ยวชาญในการนำเสนอ
หรือแสดงออกในด้านวิชาการ) ๑๐ คะแนน
๙.๓ พุทธิพิสัย (ความรู้ ความเข้าใจ การประยุกต์ใช้เอกสาร
รายงาน สอบกลางภาค) ๒๐ คะแนน
๙.๔ สอบปลายภาค ๖๐ คะแนน
รวม ๑๐๐ คะแนน
๑๐.
หนังสืออ่านประกอบรายวิชา
Bhikkhu Bodhi, A Comprehensive
Manual of Abhidhamma, Sangharaja Mawatha, Buddhist Publication Society, Kandy,Sri Lanka.
กระทรวงศึกษาธิการ. ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก.
กรุงเทพมหานคร : คุรุสภา, ๒๕๓๕.
บุญทัน
มูลสุวรรณ. พระไตรปิฎกสำหรับเยาวชน เล่ม ๙. ครั้งที่ ๒.
กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๓๙.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. อภิธรรมปิฎก.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
พระพุทธโฆสะ. ปรมตฺถทีปนี ธาตุกถาทิปญฺจปฺปกรณฏฺฐกถา.
กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๔๖๕.
พระอมรเมธาจารย์, พระเมธีธรรมาภรณ์ และคณะ. พระไตรปิฎกปริทัศน์.
กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๘.
พุทธทัตตเถระ(แต่ง),ประชุม เรืองวารี(แปล). พระอภิธัมมาวตาร.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์กรมการศาสนา, ๒๕๔๓.
พระคันธสาราภิวงศ์. ปรมัตถสังคหะและปรมัตถทีปนี.
กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไทยรายวัน กราฟฟิค เพลท, ๒๕๔๖.
พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ. ปรมัตถโชติกะ
ปริจเฉทที่ ๓ และปริจเฉทที่ ๗. กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๘.
พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ. ปริจเฉทที่ ๑-๒-๖.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
๒๕๓๖.
พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ. นามรูปวิถีวินิจฉัย.
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
๒๕๒๗.
พระครูสังวรสมาธิวัตร(ประเดิม กมโล). คู่มือการศึกษาพระอภิธรรมปิฎก
เล่ม ๑ ภาคจิต. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์พิทักษ์อักษร, ๒๕๒๑.
พระครูสังวรสมาธิวัตร (ประเดิม กมโล). คู่มือการศึกษาพระอภิธรรมปิฎก
เล่ม ๒ ภาคเจตสิก. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์พิทักษ์อักษร, ๒๕๒๑.
พระครูสังวรสมาธิวัตร (ประเดิม กมโล). คู่มือการศึกษาพระอภิธรรมปิฎก
เล่ม ๓ ภาครูป นิพพาน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์พิทักษ์อักษร, ๒๕๒๑.
วรรณสิทธิ์
ไวทยะเสวี. คู่มือการศึกษาพระอภิธรรมพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร : พัฒนวิทย์การพิมพ์,
๒๕๔๙.
วิศิษย์
ชัยสุวรรณ (เรียบเรียง). สาระน่ารู้เกี่ยวกับพระอภิธรรม. ครั้งที่ ๕.
กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๖.
สมไชย รากโพธิ์.
คู่มือการศึกษาพระอภิธรรม จิตตสังคหะ ปริจเฉทที่ ๑. (วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม).
กรุงเทพมหานคร : ม.ป.พ., ม.ป.ป.
สุชีพ ปุญญานุภาพ. พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน.
กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๒๓.
เสถียรพงษ์ วรรณปก. พระไตรปิฎกวิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร : รุ่งแสงการพิมพ์,
๒๕๓๐.
อัมภา พิชิตการค้า (รวบรวม). พระสัทธัมมโชติกะ
ธัมมาจริยะ. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๗.