วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ขอบข่ายเนื้อหาวิชาพระอภิธรรมปิฎก


รายละเอียดวิชาพระอภิธรรมปิฎก
(Abhidhamma  Pitaka)

๑. ชื่อรายวิชา  พระอภิธรรมปิฎก  ชื่อภาษาอังกฤษ Abhidhamma  Pitaka
๒. รหัสวิชา  ๐๐๐ ๒๕๐                            จำนวนหน่วยกิต ๒ (๒-๐-๔)
                                                                        หมวดวิชา  วิชาแกนพระพุทธศาสนา
                                                                        ระดับการศึกษา  อุดมศึกษา
๓. อาจารย์ประจำวิชา/ผู้บรรยาย                 พระมหาธานินทร์  อาทิตวโร,ดร.
๔. คำอธิบายรายวิชา
           ศึกษาประวัติ ความเป็นมา ความหมาย โครงสร้างของพระอภิธรรมปิฎก  เนื้อหาสาระ  ประเด็นที่น่าสนใจในพระอภิธรรมปิฏกทั้ง  ๗  คัมภีร์  โดยเน้นให้เข้าใจหลักปรมัตถธรรม  คือ  จิต  เจตสิก  รูป  และนิพพาน  โดยอาศัยอรรถกถาและฏีกาประกอบ   
๕. จุดประสงค์การเรียน
          ๕.๑ เพื่อศึกษาความหมายและการทำงานของจิต
          ๕.๒ เพื่อศึกษาคุณสมบัติของจิต
          ๕.๓ เพื่อศึกษาความหมายหน้าที่การทำงานของรูป (ร่างกาย)
          ๕.๔ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจิตและร่างกายตามหลักการทางพุทธศาสนาได้
          ๕.๕ เพื่อศึกษาสภาวะจิตที่มีความเป็นอิสระจากสิ่งเศร้าหมองได้ (นิพพาน)
          ๕.๖ เพื่อให้นักศึกษาสามารถปรับปรุงพฤติกรรมของตนเองให้ดีขึ้นให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
๖. จุดประสงค์เชิงคุณธรรม
          ๖.๑ ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
          ๖.๒ มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
          ๖.๓ มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
          ๖.๔ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
          ๖.๕ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม สามารถวิเคราะห์ผลดีของการศึกษาอภิธรรมต่อสังคม

๗. รายละเอียดของวิชา
         ๗.๑ แนะนำการเรียนการสอน (สัปดาห์ที่ ๑) ๒๔ พ.ย. ๕๗ (อบรมธรรมศึกษา) ชดเชย ๘ ธ.ค. ๕๘
       ๗.๒ บทที่ ๑ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระอภิธรรมปิฎก (สัปดาห์ที่ ๒) ๑ ธ.ค. ๕๘  (สอบธรรมศึกษา) ชดเชย ๑๕ ธ.ค. ๕๘
        ๗.๓ บทที่ ๒ สาระสำคัญในคัมภีร์ธัมมสังคณี  (สัปดาห์ที่ ๓,๔) ๘, ๑๕ ธ.ค. ๕๘  ชดเชย ๕ ม.ค. ๕๙
 ๗.๓ บทที่ ๓ สาระสำคัญในคัมภีร์วิภังค์ (สัปดาห์ที่ ๕) ๒๒ ธ.ค. ๕๘  (ปฏิบัติธรรมประจำปี) ชดเชย ๑๒ ม.ค. ๕๙
        ๗.๔ บทที่ ๔  สาระสำคัญในคัมภีร์ธาตุกถา  (สัปดาห์ที่ ๖) ๒๙ ธ.ค. ๕๗  (ปฏิบัติธรรมประจำปี) ชดเชย ๑๙ ม.ค. ๕๙
        ๗.๕ บทที่ ๕ สารสำคัญในคัมภีร์ปุคคลบัญญัติ   (สัปดาห์ที่ ๗) ๕ ม.ค. ๕๙ ชดเชย ๒๖ ม.ค. ๕๙
            (สัปดาห์ที่ ๘)  ๑๒ ม.ค. ๕๙ สอบกลางภาค ชดเชย ๒ ก.พ. ๕๙
        ๗.๖ บทที่ ๖  สาระสำคัญในคัมภีร์กถาวัตถุ  (สัปดาห์ที่ ๙,๑๐) ๑๙,๒๖ ม.ค. ๕๙  ชดเชย ๙, ๑๖ ก.พ. ๕๙
        ๗.๗ บทที่ ๗ สาระสำคัญในคัมภีร์ยมก  (สัปดาห์ที่ ๑๑) ๒ ก.พ. ๕๙  ชดเชย ๒๓ ก.พ. ๕๙
        ๗.๘ บทที่ ๘ สาระสำคัญในคัมภีร์ปัฏฐาน (สัปดาห์ที่ ๑๒,๑๓)  ๙, ๑๖ ก.พ. ๕๙  ชดเชย ๑, ๘ มี.ค. ๕๙
        ๗.๙ นำเสนองาน สรุปเนื้อหารายวิชา   (สัปดาห์ที่ ๑๔) ๒๓ ก.พ. ๕๙  ชดเชย ๑๕ มี.ค. ๕๙
๘. กิจกรรมการเรียนการสอน
            ๘.๑ แนะนำเค้าโครงการบรรยายและขอบข่ายเนื้อหารายวิชา
            ๘.๒ บรรยายเนื้อหาตามเค้าโครงการบรรยายและขอบข่ายเนื้อหารายวิชา
            ๘.๓ อภิปราย-ซักถาม และเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน ทำแบบฝึกหัด ฝึกหัดออกข้อสอบ
            ๘.๔ แนะนำและมอบหมายการศึกษาค้นคว้ารายงานเฉพาะบุคคลและกลุ่ม
            ๘.๕ นำเสนอรายงานและการประเมินผลการเรียนรู้
๙. การวัดและประเมินผล
            ๙.๑ จิตพิสัย (ความตั้งใจ ความร่วมมือ มารยาท มนุษยสัมพันธ์
                        ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ)                                               ๑๐        คะแนน
            ๙.๒ ทักษะพิสัย (ความพร้อม ความเชี่ยวชาญในการนำเสนอ
                        หรือแสดงออกในด้านวิชาการ)                                                ๑๐        คะแนน
            ๙.๓ พุทธิพิสัย (ความรู้ ความเข้าใจ การประยุกต์ใช้เอกสาร
                        รายงาน สอบกลางภาค)                                                        ๒๐        คะแนน
            ๙.๔ สอบปลายภาค                                                                         ๖๐        คะแนน
                                                                        รวม                             ๑๐๐      คะแนน
๑๐. หนังสืออ่านประกอบรายวิชา
            
Bhikkhu Bodhi, A Comprehensive  Manual of Abhidhamma, Sangharaja Mawatha, Buddhist  Publication Society, Kandy,Sri  Lanka.
กระทรวงศึกษาธิการ. ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก. กรุงเทพมหานคร : คุรุสภา, ๒๕๓๕.
บุญทัน  มูลสุวรรณ. พระไตรปิฎกสำหรับเยาวชน เล่ม ๙. ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๓๙.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. อภิธรรมปิฎก. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
พระพุทธโฆสะ. ปรมตฺถทีปนี ธาตุกถาทิปญฺจปฺปกรณฏฺฐกถา. กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๔๖๕.
พระอมรเมธาจารย์, พระเมธีธรรมาภรณ์ และคณะ. พระไตรปิฎกปริทัศน์. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๘.
พุทธทัตตเถระ(แต่ง),ประชุม  เรืองวารี(แปล). พระอภิธัมมาวตาร. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์กรมการศาสนา, ๒๕๔๓.
พระคันธสาราภิวงศ์. ปรมัตถสังคหะและปรมัตถทีปนี. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไทยรายวัน กราฟฟิค เพลท, ๒๕๔๖.
พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ. ปรมัตถโชติกะ ปริจเฉทที่ ๓ และปริจเฉทที่ ๗. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๘.
พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ. ปริจเฉทที่ ๑-๒-๖. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
         ๒๕๓๖.
พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ. นามรูปวิถีวินิจฉัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
         ๒๕๒๗.
พระครูสังวรสมาธิวัตร(ประเดิม กมโล). คู่มือการศึกษาพระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑ ภาคจิต. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์พิทักษ์อักษร, ๒๕๒๑.
พระครูสังวรสมาธิวัตร (ประเดิม กมโล). คู่มือการศึกษาพระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๒ ภาคเจตสิก. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์พิทักษ์อักษร, ๒๕๒๑.
พระครูสังวรสมาธิวัตร (ประเดิม กมโล). คู่มือการศึกษาพระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๓ ภาครูป นิพพาน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์พิทักษ์อักษร, ๒๕๒๑.
วรรณสิทธิ์  ไวทยะเสวี. คู่มือการศึกษาพระอภิธรรมพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร : พัฒนวิทย์การพิมพ์, ๒๕๔๙.
วิศิษย์  ชัยสุวรรณ (เรียบเรียง). สาระน่ารู้เกี่ยวกับพระอภิธรรม. ครั้งที่ ๕. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๖.
สมไชย  รากโพธิ์. คู่มือการศึกษาพระอภิธรรม จิตตสังคหะ ปริจเฉทที่ ๑. (วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม). กรุงเทพมหานคร : ม.ป.พ., ม.ป.ป.
สุชีพ ปุญญานุภาพ. พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน. กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๒๓.
เสถียรพงษ์ วรรณปก. พระไตรปิฎกวิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร : รุ่งแสงการพิมพ์, ๒๕๓๐.
อัมภา  พิชิตการค้า (รวบรวม). พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๗.           



มคอ ๓ วิชาพระอภิธรรมปิฎก


มคอ.๓
รายวิชา ๐๐๐ ๒๕๐    อภิธรรมปิฎก

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา              มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา     คณะพุทธศาสตร์  คณะครุศาสตร์  คณะสังคมศาสตร์
หมวดที่ ๑ ข้อมูลโดยทั่วไป
๑.รหัสและชื่อรายวิชา  
๐๐๐ ๒๕๐    อภิธรรมปิฎก
                (Abhidhamma  Pitaka)
๒.จำนวนหน่วยกิต               
หน่วยกิต
๓.หลักสูตรและประเภทของรายวิชา
พุทธศาสตรบัณฑิต วิชาแกนพระพุทธศาสนา

๔.อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน
พระมหาธานินทร์ อาทิตวโร,ดร. อาจารย์ผู้สอน
๕.ภาคการศึกษา / ชั้นปีที่เรียน
ภาคการศึกษาที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๘  ชั้นปีที่ ๒
๖.รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisite) (ถ้ามี)
ไม่มี
๗.รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co-requisites) (ถ้ามี)
ไม่มี
๘.สถานที่เรียน                   
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาเขตขอนแก่น
๙.วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด
สิงหาคม ๒๕๕๘





หมวดที่ ๒ จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์
๑.จุดมุ่งหมายของรายวิชา
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักคำสอนในเรื่องจิต คุณสมบัติของจิต และรูปร่างของมนุษย์  สภาวะของจิตที่มีความเป็นอิสระจากสิ่งเศร้าหมอง  ในอภิธรรมปิฎก
๒. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา
หลังจากเรียนจบวิชานี้แล้ว ผู้เรียนสามารถ
๑. อธิบายความหมายและการทำงานของจิตได้
๒. อธิบายคุณสมบัติของจิต ได้
๓. อธิบายความหมายหน้าที่การทำงานของรูป(ร่างกาย)
๓.  อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างจิตและร่างกายตามหลักการทางพุทธศาสนาได้
๔. อธิบายสภาวะจิตที่มีความเป็นอิสระจากสิ่งเศร้าหมองได้(นิพพาน)
๕. นักศึกษาสามารถปรับปรุงพฤติกรรมของตนเองให้ดีขึ้นให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
หมวดที่ ๓ ลักษณะและการดำเนินการ

๑. คำอธิบายรายวิชา
             ศึกษาประวัติ ความเป็นมา ความหมาย โครงสร้างของพระอภิธรรมปิฎก  เนื้อหาสาระ  ประเด็นที่น่าสนใจในพระอภิธรรมปิฏกทั้ง    คัมภีร์  โดยเน้นให้เข้าใจหลักปรมัตถธรรม  คือ  จิต  เจตสิก  รูป  และนิพพาน  โดยอาศัยอรรถกถาและฏีกาประกอบ   
๒. จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา
บรรยาย
สอนเสริม
การฝึกปฏิบัติ/งานภาคสนาม/การฝึกงาน
การศึกษาด้วยตนเอง
บรรยาย  ๓๐ ชั่วโมงต่อภาคการศึกษา 

สอนเสริมตามความต้อง การของนักศึกษาเฉพาะ ราย 
ไม่มีการฝึกปฏิบัติงาน ภาคสนาม
การศึกษาด้วยตนเอง ๔ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 
๓. จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็น
รายบุคคล
- อาจารย์ประจำรายวิชา แจ้งการให้คำปรึกษาผ่านเวปไซด์คณะพุทธศาสตร์ และอีเมล์ส่วนตัวของอาจารย์
พร้อมทั้งประกาศในห้องเรียน
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ ๑ ชั่วโมงต่อสัปดาห์  (เฉพาะ
รายที่ต้องการ)
หมวดที่ ๔ การพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษา

๑.คุณธรรม จริยธรรม
๑.๑  คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบ มีวินัย เคารพในสิทธิของบุคคลอื่น ไม่เบียดเบียนกล่าวร้ายผู้อื่น  มีความซื่อสัตย์ มีความอดทน  นิสิตสามารถพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมกับการศึกษาอภิธรรม โดยมีคุณธรรมจริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้
-    ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
-    มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
-    มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
-    เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
-    เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
-    สามารถวิเคราะห์ผลดีของการศึกษาอภิธรรมต่อสังคม
๑.๒  วิธีการสอน
-   บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรม คุณธรรม จริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับอภิธรรม
-    อภิปรายกลุ่ม
-    กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับเรื่องอภิธรรม
-    บทบาทสมมติ
-    นำเสนอรายงาน
๑.๓ วิธีการประเมินผล
-    พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
-    มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
-    ประเมินผลการทดสอบข้อเขียน
-    ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย


๒.ความรู้
๒.๑  ความรู้ที่ต้องได้รับ
  มีความรู้หลักคำสอนในอภิธรรมปิฎก อรรถกถาอภิธรรม ฎีกาอภิธรรมอย่างเป็นระบบ
๒.๒  วิธีการสอน
บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน  การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นคว้าหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา และโครงงาน Problem base learning และ Student Center เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
๒.๓  วิธีการประเมินผล
-       ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฎี
-       นำเสนอสรุปการอ่านจากการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
-       วิเคราะห์กรณีศึกษา
-       สัมภาษณ์เป็นรายบุคคล
๓. ทักษะทางปัญญา
๓.๑ ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับจิตวิญญาณ
๓.๒ วิธีการสอน
-       การมอบหมายให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษ และนำเสนอผลการศึกษา
-       อภิปรายกลุ่ม
-       วิเคราะห์กรณีศึกษา ในการนำอภิธรรมมาใช้ในปัจจุบัน
-       การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติกรรมในการควบคุมจิตใจและร่างกาย
๓.๓วิธีการประเมินผล
สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ในปัจจุบันเข้ากับหลักธรรมในอภิธรรม
    ๔.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
๔.๑ ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
-       พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
-       พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
-       พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
๔.๒ วิธีการสอน
-       จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
-       มอบหมายงานรายกลุ่ม และรายบุคคล เช่น การค้นคว้าหลักธรรมในอภิธรรม หรือ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
-       การนำเสนอรายงาน
๔.๓ วิธีการประเมินผล
-       ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
-       รายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
-       รายงานการศึกษาด้วยตนเอง
๕.ทักษะการวิเคราะห์หลักธรรม
๕.๑ ทักษะการวิเคราะห์หลักธรรม     
-    ทักษะการคิด การตีความ วิเคราะห์หลักธรรม
-   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การวิเคราะห์  การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
-    พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
-    พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
-   ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งงานทางอีเมล์ การสร้างห้องแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ เช่น Web lock การสื่อสารการทำงานในกลุ่มผ่านห้องสนทนา feacebook
-    ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
๕.๒ วิธีการสอน     
-   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากคัมภีร์อภิธรรมปิฎก อรรถกถา ตำรา หนังสือ และทำรายงาน โดยเน้นการอ้างคัมภีร์  ตำรา  เอกสาร งานวิจัย จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
-     นำเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
๕.๓ วิธีการประเมินผล
-    การจัดทำรายงาน และนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
-    การมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
-    การนำเสนองานโดย power point

หมวดที่ ๕ แผนการสอนและการประเมินผล
๑. แผนการสอน
สัปดาห์ที่
หัวข้อ/รายละเอียด
จำนวนชั่วโมง
กิจกรรมการเรียน การสอน  สื่อที่ใช้ (ถ้ามี)
ผู้สอน


แนะนำการเรียนการสอน


-PowerPoint
-หนังสือเรียน
-คอมพิวเตอร์
พระมหาธานินทร์ 
อาทิตวโร,ดร.


บทที่ ๑ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระอภิธรรมปิฎก
-ความนำ
-ความเป็นมาของพระอภิธรรมปิฎกสมัยพุทธกาลและสมัยหลังพุทธกาล
- ความหมายของพระอภิธรรมปิฎก
-โครงสร้างของพระอภิธรรมปิฎก
-ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาอภิธรรม
-PowerPoint
-บรรยาย 
-ยกตัวอย่างประกอบ


พระมหาธานินทร์ 
อาทิตวโร,ดร.


บทที่ ๒ สาระสำคัญในคัมภีร์ธัมมสังคณี
-       ความนำ
-       ความหมายและโครงสร้างของคัมภีร์ธัมมสังคณี
-       จิตตุปปาทกัณฑ์
-       รูปกัณฑ์
-       นิกเขปกัณฑ์
-       อัฏฐกถากัณฑ์
-PowerPoint
-หนังสือเรียน
-คอมพิวเตอร์
-บรรยาย 
-ยกตัวอย่างประกอบ
-ทำแบบฝึกหัด
-ฝึกออกปัญหา

พระมหาธานินทร์ 
อาทิตวโร,ดร.



บทที่ ๓ สาระสำคัญในคัมภีร์วิภังค์
-       ความนำ
-       ความหมายและโครงสร้างของวิภังค์
-       ประเภทของวิภังค์
-       วิธีการจำแนกวิภังค์
-       วิธีการจำแนกในขันธวิภังค์
-PowerPoint
-หนังสือเรียน
-คอมพิวเตอร์
-บรรยาย 
-ยกตัวอย่างประกอบ
-ทำแบบฝึกหัด
-ฝึกออกปัญหา
พระมหาธานินทร์ 
อาทิตวโร,ดร.


บทที่ ๓ (ต่อ)
-       วิธีการจำแนกขันธ์ ๕ ด้วยสุตตันตภาชนียนัย
-       วิธีการจำแนกขันธ์ ๕ ด้วยอภิธรรมภาชนียนัย
-       วิธีการจำแนกขันธวิภังค์ - ปัญหาปุจฉกะ
-        
-PowerPoint
-หนังสือเรียน
-คอมพิวเตอร์
-บรรยาย 
-ยกตัวอย่างประกอบ
-ทำแบบฝึกหัด
-ฝึกออกปัญหา
พระมหาธานินทร์ 
อาทิตวโร,ดร.

บทที่ ๔  สาระสำคัญในคัมภีร์ธาตุกถา
-       ความนำ
-       ความหมายของธาตุกถา
-       โครงสร้างของคัมภีร์ธาตุกถา
-       สงเคราะห์วิปัสสนาภูมิ ๖ และปรมัตถธรรม ๔ โดยขันธ์-อายตนะ-ธาตุ



-PowerPoint
-หนังสือเรียน
-คอมพิวเตอร์
-บรรยาย 
-ยกตัวอย่างประกอบ
-ทำแบบฝึกหัด
-ฝึกออกปัญหา
พระมหาธานินทร์  
อาทิตวโร,ดร.

บทที่ ๕ สารสำคัญในคัมภีร์ปุคคลบัญญัติ 
-       ความนำ
-       ความหมายและโครงสร้างของปุคคลบัญญัติ
-       ปุคคลบัญญัติปกรณ์
-       ประเภทแห่งบุคคล

-PowerPoint
-หนังสือเรียน
-คอมพิวเตอร์
-บรรยาย 
-ยกตัวอย่างประกอบ
-ทำแบบฝึกหัด
-ฝึกออกปัญหา
พระมหาธานินทร์ 
อาทิตวโร,ดร.
สอบกลางภาค

พระมหาธานินทร์ 
อาทิตวโร,ดร.

บทที่ ๖  สาระสำคัญในคัมภีร์กถาวัตถุ
-       ความนำ
-       ความเป็นมาและความหมายของคัมภีร์ถกาวัตถุ
-       โครงสร้างคำถามตามแนวคัมภีร์กถาวัตถุ : การตั้งคำถาม การกล่าวข่ม (นิคคหะ) และการอธิบายความ
-PowerPoint
-หนังสือเรียน
-คอมพิวเตอร์
-บรรยาย 
-ยกตัวอย่างประกอบ
-ทำแบบฝึกหัด
-ฝึกออกปัญหา
พระมหาธานินทร์ 
อาทิตวโร,ดร.
๑๐

บทที่ ๖ (ต่อ)
-       สาระธรรมจากคัมภีร์กถาวัตถุ และแนวทางการวิเคราะห์ถึงความเชื่อของฝ่ายปรวาที
-       วิธีนำคัมภีร์กถาวัตถุประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

-PowerPoint
-หนังสือเรียน
-คอมพิวเตอร์
-บรรยาย 
-ยกตัวอย่างประกอบ
-ทำแบบฝึกหัด
-ฝึกออกปัญหา
พระมหาธานินทร์ 
อาทิตวโร,ดร.
๑๑

บทที่ ๗ สาระสำคัญในคัมภีร์ยมก
-       ความนำ
-       ความหมายและโครงสร้างของคัมภีร์ยมก
-       วิธีดำเนินการของคัมภีร์ยมกตามสภาวธรรม ๑๐ หมวด

-PowerPoint
-หนังสือเรียน
-คอมพิวเตอร์
-บรรยาย 
-ยกตัวอย่างประกอบ
-ทำแบบฝึกหัด
-ฝึกออกปัญหา
พระมหาธานินทร์ 
อาทิตวโร,ดร.
๑๒

บทที่ ๘ สาระสำคัญในคัมภีร์ปัฏฐาน
-       ความนำ
-       ความหมายและโครงสร้างของคัมภีร์ปัฏฐาน
-       ความหมายองค์ประกอบของปัฏฐาน ๓ ประการ
-PowerPoint
-หนังสือเรียน
-คอมพิวเตอร์
-บรรยาย 
-ยกตัวอย่างประกอบ
-ทำแบบฝึกหัด
-ฝึกออกปัญหา
พระมหาธานินทร์ 
อาทิตวโร,ดร.
๑๓

บทที่ ๘ (ต่อ)
-       การจำแนกปัจจัย ๒๔ โดยเหตุ ผล และสัตติ
-       ข้อกำหนดในชาติทั้ง ๙ ของปัจจัย ๒๔ เป็น ๕๒
-       สรุปปัจจัย ๕๒ ในชาติทั้ง ๙ โดยภูมิ, สัตติ, กาล, ประเภทนาม รูป และแสดงเป็นคู่ๆ
บรรยาย  อภิปราย
การวิเคราะห์
พระมหาธานินทร์ 
อาทิตวโร,ดร.
๑๔


-       อภิปรายกลุ่ม
นิสิตนำเสนองานตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย
พระมหาธานินทร์ 
อาทิตวโร,ดร.
๑๕
สรุปเนื้อหารายวิชา
บรรยาย
พระมหาธานินทร์ 
อาทิตวโร,ดร.
๑๖
สอบปลายภาค

พระมหาธานินทร์ 
อาทิตวโร,ดร.

๒. แผนการประเมินผลการเรียนรู้

ที่
วิธีการประเมิน
สัปดาห์ที่ประเมิน
สัดส่วนของการประเมิน
ทำแบบฝึกหัด
สอบกลางภาค
ทำแบบฝึกหัด
สอบปลายภาค
๓-๗
๙-๑๒
๑๖
๑๐  %
๑๐  %
๑๐  %
๕๐  %
วิเคราะห์กรณีศึกษา  ค้นคว้า การนำเสนอรายงาน
การทำงานกลุ่มและผลงาน
การส่งงานตามที่มอบหมาย
ตลอดภาคการศึกษา
๐  %
การเข้าชั้นเรียน
การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน
ตลอดภาคการศึกษา
๑๐  %
หมวดที่ ๖ ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

๑. เอกสารและตำราหลัก
Bhikkhu Bodhi, A Comprehensive  Manual of Abhidhamma, Sangharaja Mawatha, Buddhist  Publication Society, Kandy,Sri  Lanka.
กระทรวงศึกษาธิการ. ความรู้เรื่องพระไตรปิฎก. กรุงเทพมหานคร : คุรุสภา, ๒๕๓๕.
บุญทัน  มูลสุวรรณ. พระไตรปิฎกสำหรับเยาวชน เล่ม ๙. ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๓๙.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. อภิธรรมปิฎก. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
พระพุทธโฆสะ. ปรมตฺถทีปนี ธาตุกถาทิปญฺจปฺปกรณฏฺฐกถา. กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๔๖๕.
พระอมรเมธาจารย์, พระเมธีธรรมาภรณ์ และคณะ. พระไตรปิฎกปริทัศน์. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๘.
พุทธทัตตเถระ(แต่ง),ประชุม  เรืองวารี(แปล). พระอภิธัมมาวตาร. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์กรมการศาสนา, ๒๕๔๓.
พระคันธสาราภิวงศ์. ปรมัตถสังคหะและปรมัตถทีปนี. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไทยรายวัน กราฟฟิค เพลท, ๒๕๔๖.
พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ. ปรมัตถโชติกะ ปริจเฉทที่ ๓ และปริจเฉทที่ ๗. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๘.
พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ. ปริจเฉทที่ ๑-๒-๖. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
         ๒๕๓๖.
พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ. นามรูปวิถีวินิจฉัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
         ๒๕๒๗.
พระครูสังวรสมาธิวัตร(ประเดิม กมโล). คู่มือการศึกษาพระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๑ ภาคจิต. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์พิทักษ์อักษร, ๒๕๒๑.
พระครูสังวรสมาธิวัตร (ประเดิม กมโล). คู่มือการศึกษาพระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๒ ภาคเจตสิก. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์พิทักษ์อักษร, ๒๕๒๑.
พระครูสังวรสมาธิวัตร (ประเดิม กมโล). คู่มือการศึกษาพระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๓ ภาครูป นิพพาน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์พิทักษ์อักษร, ๒๕๒๑.
วรรณสิทธิ์  ไวทยะเสวี. คู่มือการศึกษาพระอภิธรรมพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร : พัฒนวิทย์การพิมพ์, ๒๕๔๙.
วิศิษย์  ชัยสุวรรณ (เรียบเรียง). สาระน่ารู้เกี่ยวกับพระอภิธรรม. ครั้งที่ ๕. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๖.
สมไชย  รากโพธิ์. คู่มือการศึกษาพระอภิธรรม จิตตสังคหะ ปริจเฉทที่ ๑. (วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม). กรุงเทพมหานคร : ม.ป.พ., ม.ป.ป.
สุชีพ ปุญญานุภาพ. พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน. กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๒๓.
เสถียรพงษ์ วรรณปก. พระไตรปิฎกวิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร : รุ่งแสงการพิมพ์, ๒๕๓๐.
อัมภา  พิชิตการค้า (รวบรวม). พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๗.
๒.เอกสารและข้อมูลสำคัญ
http:www.google.co.th/คลิกไปที่เว็บอภิธรรมโชติกะวิทยาลัย   มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,อภิธรรมวัดระฆังโฆสิตาราม
๓. เอกสารและข้อมูลแนะนำ
เว็บไซด์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น wikipedia คำอธิบายศัพท์

หมวดที่ ๗ การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา
๑.กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนิสิต ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนิสิตได้ดังนี้
-    การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
-    การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน
-    แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
-    ขอเสนอแนะผ่านเวบบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนิสิต
-     
    ๒.กลยุทธ์การประเมินการสอน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
-    การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมการสอน
-    ผลการสอบ
-    การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้

   ๓.การปรับปรุงการสอน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
-    สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
-      การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
  ๔.การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนิสิต หรือการสุ่มตรวจผลงานของนิสิต รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
-   การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนิสิตโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
-   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนิสิต โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
  ๕.การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอน และรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
-    ปรับปรุงรายวิชาทุก ๓ ปีหรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ ๔
-   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรือแนวคิดใหม่ ๆ